สวนตาก้านในความทรงจำ

สวนตาก้าน บางกร่าง

สวนตาก้าน บางกร่างตั้งอยู่ปากคลองลัดบางกร่าง ริมคลองบางกอกน้อย ถนนราชพฤษ์ ในเขตอำเภอเมืองนนทบุรี ที่นี่นับได้ว่าเป็นสวนทุเรียนที่เก่าแก่สวนหนึ่งในนนทบุรี เนื้อที่ 7 ไร่ มีทุเรียนมากกว่า 60 พันธุ์ จำนวนเกือบ 200 ต้น สวนนี้ยังมีผลไม้อื่นอีกมากมาย เช่น มังคุด มะไฟพันธุ์เหรียญทอง ส้มโอทองดีอันอร่อยโอชะ มะม่วงยายกล่ำของดีเมืองนนท์             

wi sports betting

  สวนตาก้าน เป็นสวนทุเรียนที่เก่าแก่ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 2 ถนน บางกรวย-ไทรน้อย ต.บางกร่าง อ.เมือง จ.นนทบุรี เดิมมีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่  ปลูกทุเรียนครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2510 โดย คุณตาสนิท สุขก้อน  ซึ่งมีทุเรียนประมาณ 15 กว่าสายพันธุ์  ส่วน คำว่า “ตาก้าน” เป็นชื่อของเจ้าของสวนเก่าที่คนในท้องถิ่นบางกร่างรู้จักเลยเรียกสวนนี้ว่า สวนตาก้าน ก่อนมหาอุทกภัย 2554 สวนนี้มีต้นทุเรียนต้นใหญ่ให้ผลผลิตทุกปีจำนวนกว่า 130 ต้น อายุต้นประมาณ 40 ปี ต้นทุเรียนในสวนตาก้านมีความสวยงาม สมบูรณ์ และมีต้นใหญ่โอบไม่รอบ  จึงทำให้มีรายการต่างๆมาถ่ายทำที่สวนมากมาย  ประกอบกับมีทุเรียนพื้นบ้านที่หารับประทานได้ยาก เช่น กบแม่เฒ่า กบตาเต่า ฉัตรสีทอง ทองย้อย ลวง กระดุม ฯลฯ อีกทั้งยังมีผลไม้อื่นๆที่ขึ้นชื่อ เช่น มังคุด และมะไฟ พันธุ์เหรียญทอง เป็นต้น 

ในปี 2550 ทางสวนตาก้านเริ่มทำกิ่งพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้านจำหน่าย 26 สายพันธุ์ ให้เกษตรกรที่สนใจทั่วประเทศ

ต่อมา ในปี 2554 สวนตาก้านได้เผชิญกับมหาอุทกภัย ที่เป็นสาเหตุทำให้ต้นทุเรียนยืนต้นตายทั้งหมด หลงเหลือแต่เพียงมังคุดและมะไฟเพียง 3 ต้น  และในขณะนั้นทางสวนของเราได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของพันธุ์ทุเรียน จึงได้มีการนำกิ่งพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้านกว่า 200 กิ่งที่เหลืออยู่ มาเก็บดูแลเป็นอย่างดี อีกทั้งยังพยายามตัดกิ่งทุเรียนที่ยังไม่ตายในขณะนั้น มาขยายพันธุ์ต่อไป

หลังจากภัยพิบัติครั้งนี้ การต่อสู้ครั้งใหม่ได้เริ่มต้นขึ้น สวนตาก้านเริ่มปรับปรุงคันกั้นน้ำ เสริมคันดินโดยใช้ดินถึง 200 คัน และปรับสภาพดินตามวิถีโบราณ โดยการ ตากดิน จากนั้นตลอดระยะเวลาอีก 1 ปี จะปลูกกล้วยและส้ม จึงจะปลูกต้นทุเรียน ซึ่งสวนตาก้านปลูกทุเรียนต้นแรกของสวนในวันแม่แห่งชาติ  ครั้งที่ 2 ปลูกในวันมหิดล  ครั้งที่ 3 ปลูกในวันพ่อแห่งชาติ จนถึงปัจจุบันสวนตาก้านปลูกทุเรียนสมบูรณ์เต็มสวน

ทุเรียนนนท์สวนตาก้าน อนุรักษ์ทุเรียนพันธุ์ดั้งเดิม ให้ไม่ถูกน้ำท่วมเมื่อ ปี 2538 เริ่มปลูกทุเรียนตั้งแต่ พ.ศ.2511 ก่อนปลูกทุเรียน ก็ปลูกส้มเขียวหวาน ปลูกโดยคุณตาสนิท สุขก้อน ปัจจุบันอายุ 80 ปี เป็นสวนที่ปลูก ทุเรียนแบบโบราณเป็นภูมิปัญญาของชาวสวนนนท์อย่างแท้จริง เริ่มจากคันถนนโดยรอบจะมีการปลูก ต้นไม้กันลมและตันไม้ใช้รากยึดดินเช่น มะพร้าว ไผ่ มะม่วง สะเดา มะไฟ รอบสวนไว้ยึดคันกันน้ำ เข้ามาในร่องสวนอดีตนิยมปลูกทุเรียนพันธุ์หนักคือก้านยาว หมอนทอง ขนาดอกร่องของเรากว้างประมาณ 8 ศอกปลูกทุเรียนแบบสลับฟันปลาระยะห่าง 6 วา สับวางด้วยทุเรียนพันธุ์เบา และมังคุด

wi sports betting

 

   สวนทุเรียนของ เรานี้ถือว่าเก่าแก่และยังสมบูรณ์ที่สุดในจังหวัดนนทบุรีก็ว่าได้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ที่ท่านนายกธงชัย เย็นประเสริฐ ที่ท่านให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่และ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่สวนอื่นไม่มีคือ การอนุรักษ์ทุเรียนพันธุ์ดั่งเดิมหรือสมัยนี้เรียกว่าทุเรียนโบราณของ นนทบุรี ซึ่งตอนนี้เรารวบรวมและขยายพันธุ์ไว้ กว่า 30 พันธุ์ ได้แก่ ตระกูลกบ กบแม่เฒ่า กบตาเต่า กบตาขำ กบชายน้ำ กบวัด กล้วย กบหัวสิงห์ กบสาวน้อย ตระกูลทองย้อย ทองย้อยฉัตร ฉัตรสีทอง ตระกูลกำปั่น กำปั่นตาแพ กำปั่นพวง กำปั่นเจ้ากรม หมอนทอง ชายมะไฟ ชายมังคุด ก่ำปั่นเดิม ตระกูลก้านยาว ก้านยาวทรงฮวด เม็ดใน ยายปรางค์ เม็ดในยายเชย ตระกูลลวง อีลวง ชมพูศรี ย่ำมะหวาด ชะนี ตระกูลอื่นๆ กระดุมเขียว กระดุมทอง กระปุกทองดี จอกลอย ตุ้มทอง บางขุนนนท์ กระเทยเนื้อ เหลือง แดงรัศมี กระเทยเนื้อขาว ยังมีอีกหลายพันธุ์ที่ยังตามหาได้แต่ยังไม่ได้ขยายพันธุ์เช่นกบเล็บเหยี่ยว สาวชม การะเกด หรือ เหลืองการะเกด กบพระไว ปิ่นทอง บาตรทองคำ ยังมีอีกมากมายให้ตามหา พันธุ์ที่รวบรวมนี้ ได้ในเขตตำบลบางกร่าง ตำบลบางเลน

wi sports betting

 

 ในการอนุรักษ์สายพันธุ์ดั้งเดิมนี้ไว้ให้ลูกหลานเด็กรุ่นใหม่ได้รู้ว่า จังหวัดนนทบุรี มีตำนานทุเรียนที่เก่าแก่ยาว นานที่ริมคลองบางกอกน้อย ตอนใน เขตตำบลบางกร่างถิ่นกำเนิดทุเรียนนนท์ครั้งแรกราว 160 กว่าปีมา แล้วมี 3 สายพันธุ์พัฒนาไปมากมายกว่า 200 พันธุ์แต่ปัจบันนี้คงเหลือประมาณ 50 พันธุ์ หากหน่วยงาน ราชการหรือองค์กรท้องถิ่นเห็นความสำคัญให้การสนับสนุนการอนุรักษ์และขยายพันธุ์ให้คน ได้รู้จักมากกว่า นี้ทุกท่านคงได้กินทุเรียนที่อร่อยกว่าหมอนทองหรือก้านยาวแน่นอน  wi sports betting

 

          

             wi sports betting

                       

 

Visitors: 475,309